supportive care

หากพูดถึงการรักษาแบบประคับประคองเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกันดีกับ palliative care แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วมีอีกหนึ่งแนวทางในการรักษานั่นก็คือ supportive care แต่หากใครยังไม่รู้จักไม่ต้องกังวลเราจะพาไปดูว่ามีแนวทางการรักษาแบบไหนหรือมีความสำคัญอย่างไร 

supportive care คืออะไร  

supportive care หรือการรักษาแบบประคับประคองโดยเน้นบรรเทาอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือผู้ป่วยที่ไม่หายจากโรคสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ยืนยาว ผ่านการช่วยเหลือจากคนรอบข้างโดยเฉพาะคนในครอบครัวนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่พยาบาล  

อย่างไรก็ตามการรักษาแบบ supportive อาจไม่ได้มีผลทำให้หายจากโรคได้ ทำได้เพียงแค่การดูแลตามอาการหรือพิจารณาไปตามอาการเท่านั้น  

อาการที่ต้องได้รับการรักษาแบบ supportive  

สำหรับอาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายและอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบ supportive care หลัก ๆ ประกอบไปด้วย  

  • มีสารคัดหลั่งไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา 
  • ชีพจรเต้นเบามาก 
  • มีการหยุดหายใจเป็นจังหวะหรือมีอาการเหนื่อยหอบขณะหายใจ 
  • ไม่รับรู้ความรู้สึก  
  • มีอาการมึนงง สติปัญญาในการรับรู้เรื่องต่าง ๆ น้อยลงกว่าเดิมมาก ๆ  
  • รับประทานอาหารได้ไม่เป็นปกติจากเดิมรับประทานอาหารได้ก็กลายเป็นไม่ได้  
  • กรณีพบว่าผู้ป่วยมีอาการข้างต้นจำเป็นต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการวินิจฉัยและดูอาการต่อไป 

ความสำคัญของการรักษาแบบบรรเทาอาการ 

การรักษาแบบ supportive care มีความสำคัญอยู่ด้วยกันหลายประการสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ 

  • มีส่วนช่วยในการรับมือกับความเจ็บปวดและอาการต่าง ๆ อย่างเหมาะสม แน่นอนว่าผู้ป่วยแต่ละคนมีอาการแต่ละแบบแตกต่างกันไปแต่เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือดูแลแบบ supportive จะช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยสามารถรับมือกับภาวะอาการต่าง ๆ และความเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • ช่วยให้อารมณ์และจิตใจไม่สับสนหรือฟุ้งซ่านมากเกินไป ร่างกายเข้าสู่สภาวะป่วยแน่นอนว่าปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจย่อมมีผลกับผู้ป่วยแน่นอน แต่การดูแลแบบ supportive จะช่วยให้ปัญหาเหล่านั้นได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม 
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนกับผลข้างเคียงจากการรักษาหรืออาการของโรคได้ เนื่องจากการดูแลแบบ supportive ส่วนใหญ่มักมีการสนับสนุนด้านโภชนาการเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนความเห็นของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นการได้รับอาหารหลัก 5 หมู่หรืออาหารเสริม ดังนั้นจึงเพิ่มความมั่นใจได้ว่ากรณีผู้ป่วยมีภาวะสุขภาพเรื้อรังเสี่ยงต่อการขาดโภชนาการสามารถได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมได้ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงตามมาน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย 

จะเห็นได้ว่าการดูแลรักษาแบบ supportive care ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรืออยู่ในระยะสุดท้ายของโรคเผชิญกับปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั่นเอง